น้องสาวมีกลินเหม็นเหมือนปลาเน่า?

ตกขาวผิดปกติ มีสี เป็นก้อน หรือมามากผิดปกติ?

รู้สึกคันน้องสาวยุกยิกไม่หาย?

หรือมีอาการทั้งหมดที่พูดมา!?

แม้ว่าการไปหาหมอ จะเป็นทางออกที่ดี ที่สาวๆส่วนใหญ่ทำ

เมื่อต้องเจอกับปัญหาจุดซ่อนเร้น แต่บางคนก็ได้รับยาแล้วกลับบ้านทันที

ซึ่งสาวๆเคยสงสัยหรือไม่..ว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?? แบคทีเรียหรอ!?

แล้วเชื้อแบคทีเรียมาอยู่ในร่างกายเราได้อย่างไร!?

 

😊 วันนี้เราจะช่วยบอกคุณเอง 😊

เพื่อให้รู้ทันเจ้าแบคทีเรียวายร้ายนั้น..

วันนี้เราจะมาแนะนำให้สาวๆรู้จักกับเจ้าวายร้ายทั้ง 3 ตัว

ซึ่งแท้จริงแล้วเจ้าวายร้ายอยู่กับเราตลอดเวลา

แต่สาวๆอาจจะไม่เคยรับรู้ถึงมัน

จนถึงวันที่เจ้าวายร้ายก่อปัญหาให้ร่างกายของเรา

แบคทีเรียตัวแรกคือ “Candidas albicans” หรือ แคนดิดา อัลบิแคนส์

จากการวิจัยทางการแพทย์ ประมาณ 75% ของผู้หญิง

ต้องเคยทนทุกข์ทรมานอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตจากการติดเชื้อราที่ปากช่องคลอด (VVC)

โดย 40–50% ประสบปัญหาการติดเชื้อเพิ่มอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

และอีก 5-8 % ของผู้หญิงต้องทนทุกข์ทรมานจาก VVC อย่างน้อยสี่ครั้งต่อปี1

 

เจ้าแบคทีเรียตัวนี้แข็งแรงมาก มีความสามารถทนต่อแสงยูวี ความแห้ง และสารเคมีบางชนิดได้สูง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าแบคทีเรียชนิดนี้จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่อค่า pH ค่าความสมดุลบริเวณจุดซ่อนเร้น อยู่ที่ 5.5

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าแบคทีเรียตัวนี้จะไม่สามารถต่อสู้กับความร้อนได้

เจ้าแบคทีเรียตัวนี้จะตาย หากได้รับความร้อนอุณหภูมิสูงถึง 60 ℃ เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง

 

แบคทีเรียตัวที่สองคือ “Staphylococcus aureus” หรือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส

แบคทีเรียตัวนี้จะทำตัวคล้ายๆกับนินจา มันจะซ่อนตัวอยู่ทุกที่รอบตัวเรา แต่เราอาจจะไม่เคยสังเกตเห็น

สาวๆเคยอ่านข่าวว่ามีคนเสียชีวิตเพราะ “Cellulitis โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ” ไหม?

ซึ่งเชื้อ Staphylococcus aureus เนี่ยแหละที่เป็นหนึ่งในเจ้าแบคทีเรียตัวการณ์ที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น

และยิ่งถ้าสาวๆคิดว่า เจ้าแบคทีเรีย Staphylococcus

ส่งผลทำให้เกิดเพียงแค่อาการคันและตกขาวผิดปกติเท่านั้นละก็..

งั้นก็คงต้องให้ กากบาทตัวใหญ่กับสาวๆทันที

XXX ตี๊ดดด!!!!!! XXX

คุณคิดผิดจ้า!!!! 😉

 

เพราะรายงานทางการแพทย์ระบุว่า ภาวะการมีบุตรยากนั้น 57%

เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus 

และคุณผู้ชายโปรดอย่าชะล่าใจเลยทีเดียว 😉

เพราะยังมีรายงานที่ยืนยันผลว่า 20.6% ของผู้ชายที่มีเชื้อ Staphylococcus aureus ในตัวอสุจิ

ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก และที่แย่ที่สุดคือเปอร์เซ็นต์ดันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี2

 

เจ้าแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สามารถอยู่ได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ 6.5 ℃ – 45 ℃

นอกจากนี้ยังสามารถอยู่รอดได้ ในโหมดพัก (โหมดจำศีล) เป็นเวลา 6 เดือน ที่อุณภหภูมิ -18 ℃

และเช่นเดียวกับเจ้าแบคทีเรีย Candidas albicans

สองแบคทีเรียวายร้ายจะเติบโตได้อย่างรวดเร็วในอุณหภูมิระหว่าง 35℃-37℃

และค่าความสมดุล pH ที่ 4-10

 

และอีกหนึ่งแบคทีเรียตัวร้าย ตัวที่สามคือ “Trichomonas Vaginalis” หรือ ทริโคโมแนส วาจินาลิส

หลายๆคนรู้จักเจ้าตัวนี้ในฐานะ โรคพยาธิในช่องคลอด

อ้างอิงจากบทความทางงานวิจัย พบว่า ความน่ากลัวของเจ้าแบคทีเรียตัวนี้ คือ..

มีผู้ป่วยใหม่เพราะตัวแบคทีเรียตัวนี้ 250 ล้านรายทั่วโลกทุกปี!

และ เกือบ 50% ติดเชื้อนี้จากการมีเพศสัมพันธ์!!!3

ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าแบคทีเรียตัวนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการกับผู้ชาย

แต่จะแสดงอาการกับสาวๆ ฉะนั้นสาวๆอย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด!

 

เจ้าแบคทีเรีย Trichomonas Vaginalis เป็นพวกประเภทปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี

โดยเฉพาะหากอุณหภูมิต่ำ อากาศเย็น ยิ่งชอบ อยู่ได้หลายวัน

ขนาดอยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์ ยังอยู่ได้หลายชั่วโมง!! O_O

ซึ่งเจ้าวายร้ายตัวนี้จะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีหากอุณหภูมิ 25℃-42℃

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบริเวณจุดซ่อนเร้นมีค่าความสมดุล pH ราวๆที่ 5.5 – 6

แต่จะถ้าน้อยกว่า 5 หรือมากกว่า 7.5 ก็ไม่สามารถเติบโตได้!

 

          จะเห็นได้ว่าเจ้าแบคทีเรียแต่ละตัวนั้นจะซ่อนอยู่รอบๆตัวเรา

และแอบซ่อนความร้ายกาจอยู่ภายใน โดยที่เราเองนั้นอาจไม่ได้คำนึงถึง

ซึ่งค่า pH บริเวณจุดซ่อนเร้นที่จะเป็นเซฟโซนของเหล่าแบคทีเรียวายร้ายพวกนี้ ค่า pH จะอยู่ที่ 5.5 – 6

และแม้ว่าร่างกายของเราจะมีความฉลาดในการปกป้องตัวเอง

ด้วยการที่ ระบบภายในจุดซ่อนเร้นจะมีกลไกในการสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุล

ผลิตกรดธรรมชาติ เช่นกรดแลคติกเพื่อปกป้องค่าpH ตรงจุดซ่อนเร้น

ให้อยู่ในสภาวะทีสมดุลที่ค่า pH 3.5-4.5 อยู่แล้ว

แต่อย่าลืมว่า เมื่อไหร่ที่ค่า pH ถูกรบกวนโดยมีปัจจัยอื่นบางอย่างที่เข้ามารบกวนความสมดุลภายในร่างกาย

เช่น อากาศร้อนขึ้น เหงือออกเยอะขึ้น ปัสสาวะ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์

ก็อาจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้พร้อมที่จะตื่นขึ้นมาทำงาน

และส่งผลให้จุดซ่อนเร้นของเราอักเสบหรือติดเชื้อได้ง่ายๆ

 

สังเกตได้จากภาพด้านล่าง เจ้าแบคทีเรียแต่ละตัว

ก็ทำให้สาวๆอย่างเรา เจอกับอาการจุดซ่อนเร้นผิดปกติที่แตกต่างกันออกไป ถ้าไม่ระวังให้ดี!

เมื่อสาวๆรู้แล้วว่าแบคทีเรียวายร้ายเหล่านี้จะเติบโตได้อย่างไร

ภารกิจต่อไปก็คือ ต้องรู้วิธีรับมือกับมันให้ดี!

โดยวิธีการรับมือในการปราบเชื้อแบคทีเรีย

หรือลดการสะสมยับยั้งการเกิดแบคทีเรียบริเวณจุดซ่อนเร้น ด้วยการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี

เพื่อให้ค่าความสมดุลบริเวณจุดซ่อนเร้นกลับมาอยู่ในจุดที่สุขภาพดี

จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม!!

และไม่เพียงแต่สาวๆเท่านั้นที่ต้องให้ความใส่ใจ ดูแล แต่หนุ่มๆเองก็ยังต้องให้ความร่วมมืออีกด้วย

 

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด HH จึงได้รวบรวมส่วนผสมที่เป็นกรดธรรมชาติ

ตามระบบกลไกร่างกายเอาไว้ในผลิตภัณฑ์

นั่นก็คือ กรดแลคติกและ อีก 4 กรดออร์แกนิคธรรมชาติ

เพื่อช่วยคงความสมดุล ค่า pH บริเวณจุดซ่อนเร้นอย่างธรรมชาติ

รวมไปถึงเจ้าตัว ควอเตอร์เนียม 73 ที่มีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

เป็นเหมือนเกราะเสริมป้องกันภัยอีกแรง

 

ซึ่งยังอุดมไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติอีกมากกว่า 10 ชนิด

ที่จะช่วยดูแลบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ป้องกันจุดซ่อนเร้นติดเชื้อหรืออักเสบอีกด้วย!

 

HH ไม่ได้แคร์แค่สุขภายทางกาย แต่ยังใส่ใจถึงความรู้สึกทางใจ

ด้วยการเพิ่มส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยอีกกว่า 20 ชนิด

เพื่อช่วยให้สาวๆรู้สึกหอม สดชื่น ขณะทำความสะอาดและหลังทำความสะอาด 😊

 

😀  เพื่อสุขภาพกายที่ดี และสุขภาพใจที่สดชื่นแจ่มใสไปพร้อมๆกัน 😀 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก:

1.Candida albicans pathogenicity mechanisms, p119–128,

National library of medicine, Published online 2013 Jan 9.

2.Staphylococcal Infection and Infertility,

Genital Infections and Infertility,Published 2016 Jun 29.

3.A Study of Trichomonas vaginalis Infection

and Correlates in Women with Vaginal Discharge Referred

at Fann Teaching Hospital in Senegal",

Journal of Parasitology Research, Published 2019

4. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1089

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ไม่ได้เจตนาเพื่อทดแทนการวินิจฉัยหรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ 
หากมีคำถามเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล โปรดขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอีกครั้ง