สำหรับคนเป็นแม่..สิ่งที่ดีที่สุด หลังจากผ่านการตั้งครรภ์ มา 9 เดือน

คือการได้สัมผัส อุ้มลูก เอาไว้ในอ้อมกอด 

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องแลกมากับสภาพผิวที่เปลี่ยนไป

อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

และการเพิ่มขึ้นของเอสโตรเจนในช่วงที่ตั้งครรภ์

ซึ่งปัญหาที่เหล่าคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งมักเจออยู่บ่อยครั้ง คือ

ภาวะผิวหนังเป็นผื่นแพ้อักเสบ ที่มีสาเหตุมาจาก อาหารการกิน การใช้ชีวิต เสื้อผ้าที่สวมใส่ เป็นต้น

โดยแต่ละคน เป็นมาก เป็นน้อย ก็แตกต่างกันไป ตามแต่ละบุคคล

บางคนร่างกายจะรักษาตัวเอง หายเองได้

แต่บางคนก็เป็นหนักกว่าเดิม ถึงขั้นเป็นผื่นลมพิษ (PUPPP: Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy)

ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอยากต้องเจอกับภาวะผิวอักเสบแบบนี้กันอย่างแน่นอน

 

อ้างอิงจากวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษ

โรคผื่นแพ้อักเสบ เป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยที่สุดของหญิงตั้งครรภ์

โดยคิดเป็นสัดส่วน 33-50% ซึ่งการเป็นโรคผื่นแพ้อักเสบนี้ ไม่ได้มีผลที่ทำให้แท้ง

หรือมีผลกระทบต่อการคลอดแต่อย่างใด

แต่เมื่อไหร่ที่เข้าสู่ภาวะ Eczema Herpeticum หรือการติดเชื้อเริมบนผิวหนัง

อาจนำไปสู่สถานการณ์ร้ายแรงขึ้นและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์

รวมไปถึงเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนดได้

 

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผล ที่ทำให้สาวๆว่าที่คุณแม่ทุกท่าน

ต้องหันมาดูแลผิวเป็นพิเศษในช่วงที่ตั้งครรภ์

 

นี่คือ 5 สิ่งที่สาวๆว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือแพลนจะมีน้อง

ควรให้ความใส่ใจมากขึ้น เพื่อให้ผิวสุขภาพดี

ไม่ว่าส่วนไหนของร่างกาย

 

1. อย่าปล่อยให้ผิวเปียก อับชื้นและไม่สดชื่น

เนื่องจากอุณหภูมิร่ายกายของเราสูง ประกอบกับสภาพอากาศในประเทศไทย ร้อนและชื้น

อาจทำให้คุณแม่เหงื่อออกได้ง่ายกว่าปกติ

ควรพกผ้าเช็ดหน้าไว้กับตัวตลอดเวลา ไว้คอยเช็ดคราบเหงื่อ

ให้ผิวแห้ง สดชื่นอยุ่ตลอดเวลา

โดยเฉพาะบริเวณใต้ท้อง รักแร้ ขาหนีบและตามข้อพับต่างๆ

 

2. ลดการทานน้ำตาลและของหวาน

เพราะว่าน้ำตาลเป็นอาหารสุดโปรดในการเติบโตของเจ้าเหล่าเชื้อราทั้งหลาย

จะดีกว่าหากเปลี่ยนมารับประทานโยเกิร์ตธรรมชาติที่มีจุลินทรีย์

เพื่อเพิ่มแลคโตบาซิลัส ที่คอยผลิตกรดแลคติก

คงความสมดุลในช่องคลอด

 

3. ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นอย่างถูกวิธี

สามารถล้างทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยน้ำเปล่าอุ่นๆได้

เพื่อคงค่าความสมดุลที่เหมาะสมไว้

แต่อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกต้องการทำความสะอาดคราบไขมัน คราบเหงื่อ

สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกับจุดซ่อนเร้น

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยคงความสมดุลค่า pH ให้อยู่ที่ประมาณ 3.5-4.5 เพิ่มเติมก็ได้

 

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น HH สูตรน้ำและโฟมมูส

จะช่วยคงความสมดุลจุดซ่อนเร้นให้อยู่ที่ราวๆ 3.6-3.8 อ่อนโยน ปลอดภัย

ด้วยส่วนผสมที่เป็นกรดอ่อนธรรมชาติ เช่นกรดแลคติก ที่เป็นกรดธรรมชาติหลัก

ที่จะด้วยการผลิตแลคโตบาซิลัส

เพื่อคงความสมดุลภายในจุดซ่อนเร้นอย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด HH เพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

4. คอยเติมน้ำให้ผิวและทำให้ผิวชุ่มชื้นอยู่ตลอด

ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์อาจสูญเสียน้ำได้ง่าย

ซึ่งอาจเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง

อาจส่งผลให้ผิวหนังเกิดผื่นแดง และเกิดอาการคัน

นอกจากต้องดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าปกติแล้ว

คุณแม่ตั้งครรภ์ยังควรทาเซรั่มเพิ่ม เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผิวชุ่มชื้นยิ่งขึ้น

โดยเซรั่มควรมีส่วนผสมของสารสกัดว่านหางจระเข้ น้ำมันโจโจ้บา น้ำมันซิลค์

หรือส่วนผสมอื่นๆที่ช่วยในเรื่องของการเติมน้ำให้ผิวชุ่มชื้น

 

ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิว HH ประกอบไปด้วยส่วนผสมจากสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ

ที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นผิวและช่วยให้ผิวกระชับ ช่วยป้องกัน

ดูแลผิวไม่ให้แห้งกร้านและหย่อนคล้อยหลังคลอด

อ่านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิว HH เพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

5. สวมใส่เสื้อผ้าฝ้ายหลวมๆที่ใส่สบาย

เสื้อผ้าหลวมๆ นุ่มๆ ที่ใส่สบาย จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังเสียดสีและระคายเคือง

โดยเฉพาะกับสตรีมีครรภ์ที่มีผิวแพ้ง่าย อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบได้ง่ายกว่า

 

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่า ภาวะผิวแพ้อักเสบจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกในขณะนี้

แต่การตั้งครรภ์ก็เปรียบเสมือนการเดินทางแสนลำบากของคุณแม่

ที่ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและต้องอดทนพอสมควร

ฉะนั้น จะเป็นการดี ถ้าเกิดว่าเราใส่ใจมันไว้ก่อนล่วงหน้า

เพื่อผลที่ดีกับตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เอง

สุดท้ายนี้..หวังว่าคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกน้อยในท้องจะสุขภาพดีทั้งกายและใจ 😀

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับจุดซ่อนเร้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่ถูกต้อง

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง: 

BMJ. 2007 Jul 21; 335(7611): 152–154. Eczema in pregnancy.

Weatherhead s, Robson sC & Reynolds NJ (2007) Eczema in Pregnancy, BMJ 335:152–154

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป ไม่ได้เจตนาเพื่อทดแทนการวินิจฉัยหรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ 
หากมีคำถามเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล โปรดขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอีกครั้ง